วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

เหตุการณืคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งในประเทศไทย

ในอดีตประเทศไทยก็เคยเกิดปรากฏการณ์คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง เมื่อวันที่ 25-26 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทย แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จากพายุหมุนเขตร้อนแฮเรียต มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 300 กิโลเมตร ความเร็วลม 180 - 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วในการเคลื่อนที่ 92.622 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดคลื่นยักษ์สูงประมาณยอดต้นสน(20 ม.) สร้างความเสียหายให้ 9 จังหวัดในภาคใต้เป็นอย่างมาก สถานที่ราชการ อาคารบ้านเรือน โรงเรียน วัด ถูกพายุพัดพังระเนระนาด การไฟฟ้าและสถานีวิทยุตำรวจเสียหายหนัก ไม่สามารถติดต่อกันได้ เรือที่ออกทะเลเสียหายมากมาย ต้นยาง ต้นมะพร้าว และต้นไม้อื่นๆ ล้มพินาศมหาศาล สวนยางนับแสนๆ ต้นโค่นล้มขวางเป็นสิบๆ กิโลเมตร มีผู้เสียชีวิต 911 คน, สูญหาย 142 คน, บาดเจ็บสาหัส 252 คน,ไม่มีที่อยู่อาศัย 10,314 คน, บ้านเสียหาย 42,409 หลังคาเรือน,โรงเรียน 435 หลัง


สโลช (SLOSH)

ตัวอย่างการเดินแบบจำลองสโลช (SLOSH run)ดูบทความหลัก: การพยากรณ์พายุหมุนเขตร้อน

ศูนย์พายุหมุนแห่งชาติได้พยากรณ์ไว้ว่าคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งโดยใช้แบบจำลองสโลช หรือ SLOSH ซึ่งย่อมาจาก “คลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งจากพายุหมุนในทะเลสาบและบนแผ่นดิน” ในภาษาอังกฤษ คือ Lake and Overland Surges from Hurricanes. แบบจำลองนี้มีความแม่นยำภายใน 20 percent.[11] ข้อมูล “สโลช” รับเข้า (input) รวมถึงความกดอากาศส่วนกลางของพายุหมุนเขตร้อน, ขนาดของพายุ, การเคลื่อนตัวของพายุ, เส้นทางการเคลื่อนตัว, และความเร็วลมคงที่สูงสุด นอกจากนี้ยังต้องนำเอาลักษณะภูมิประเทศท้องถิ่น, การหันเหทิศทางของอ่าวและแม่น้ำ, ความลึกของก้นทะเล, การขึ้นลงเชิงดาราศาสตร์ของน้ำ (น้ำขึ้นน้ำลง) , รวมทั้งรูปโฉมทางกายภาพอื่นๆ เข้ามานับร่วมกันเพื่อการกำหนดกริดหรือตารางล่วงหน้าที่เรียกว่า “แอ่งสโลช” (SLOSH basin) แล้วจึงนำแอ่งสโลชมาทับซ้อนสำหรับเส้นแนวชายฝั่งทะเลด้านใต้และตะวันออกของแผ่นทวีปอเมริกา[12] ในการจำลองพายุบางครั้งอาจใช้แอ่งสโลชมากว่า 1 แอ่ง เช่นการเดินแบบจำลองสโลชแคทรินาซึ่งใช้ทั้งแอ่งทะเลสาบพอนชาร์เทรน/นิวออร์ลีนส์ และ แอ่งมิสซิสซิบปีซาวด์ร่วมกันเพื่อใช้กับการขึ้นฝั่งของพายุ (landfall) ของอ่าวเม็กซิโก

การบรรเทา
แม้การสำรวจทางอุตุนิยมจะเตือนภัยพายุหมุนหรือพายุร้ายแรงทั่วๆ ไปแล้วก็ตาม ในบางกรณีบางพื้นที่ที่มีความเสียงต่อน้ำท่วมชายฝั่งสูงเฉพาะที่บางแห่งจะมีการเตือนเกี่ยวกับคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งเฉพาะเป็นครั้งๆ อยู่ด้วยเหมือนกัน ได้มีการปฏิบัติจริงอยู่แล้วหลายแห่ง เช่นประเทศเนเธอร์แลนด์[13] สเปน,[14][15] สหรัฐ,[16][17] และ สหราชอาณาจักร.[18]

กรรมวิธีเพื่อป้องคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งเริ่มขึ้นหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ทะเลเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2496 โดยการสร้างเขื่อนและประตูกั้นน้ำท่วม[12] (พนังกั้นคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง) ปกติจะเปิดให้น้ำและเรือผ่านเข้าออก แต่จะปิดเมื่อมีที่ท่าว่าอาจถูกคุกคามจากคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่ง พนังกั้นพายุยกที่สำคัญได้แก่พนัง Oosterscheldekering และ Maeslantkering ในเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการงานสามเหลี่ยม ( Delta Works project) และ พนังเทมส์ ( Thames Barrier) ที่ใช้ป้องกันกรุงลอนดอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น